เมนู

ที่ชื่อว่า ขึ้งเคียด ได้แก่ กิริยาที่เขาเรียกกันว่าโกรธ.
ที่ชื่อว่า คณะ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์.
บทว่า กล่าวติ คือ ติโทษว่า ภิกษุณีเหล่านี้ไม่ฉลาด ภิกษุณี
เหล่านี้ไม่รู้จักกรรม โทษอันสมควรแก่กรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กล่าวติภิกษุณีหลายรูป ภิกษุณีรูปเดียว หรืออนุปสัมบัน
ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[341] มุ่งอรรถ 1 มุ่งธรรม 1 มุ่งสั่งสอน 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา
1 ไม่ต้องอาบัติแล.
อรรถกถาวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ 3


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 3 พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อนุสาสนีปุเรกฺขาย มีความว่า ภิกษุณีดำรงอยู่ในฝ่ายแห่ง
การพร่ำสอนกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า แม้เดี่ยวนี้ เธอก็เป็นคนโง่ไม่ฉลาด ไม่
เป็นอาบัติ . คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น . สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็นเช่นกับสิกขาบทถัด
ไปนั้นแล.
อรรถกถาอารามวรรค สิขาบทที่ 3 จบ

อารามวรรค สิกขาบทที่ 4


เรื่องภิกษุณีหลายรูป


[342] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์
คนหนึ่งได้นิมนต์ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ไปเยี่ยม
ตระกูลญาติ บางพวกก็ฉันอีก บางพวกได้นำบิณฑบาตไป.
เมื่อเสร็จการเลี้ยงภิกษุณีทั้งหลายแล้ว พราหมณ์ได้กล่าวเชื้อเชิญชาว
เพื่อนบ้านว่า คุณ ๆ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเลี้ยงดูภิกษุณีทั้งหลายให้อิ่มหนำแล้ว
เชิญมาเถิด ข้าพเจ้าจักเลี้ยงพวกท่านให้อิ่มหนำบ้าง.
พวกเพื่อนบ้านเล่านั้นพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านจักเลี้ยงพวกข้าพเจ้า
ให้อิ่มหนำได้อย่างไร แม้พวกภิกษุณีที่ท่านนิมนต์มาฉันเหล่านั้น ไปถึงเรือน
ของพวกข้าพเจ้าแล้ว บางพวกก็ฉันอีก บางพวกก็นำบิณฑบาตไป.
พราหมณ์นั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย
ฉันอาหารที่เรือนของพวกเราแล้ว จึงได้ไปฉันในที่อื่นอีกเล่า เราไม่มีกำลังพอ
ที่จะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว จึงได้ฉันในที่อื่นอีกเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสยบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ยังฉันในที่อื่นอีก จริงหรือ.